คุณชอบเว็บนี้มากเท่าไร

project maternal and child health

                                           

โครงงาน อนามัยแม่และเด็ก

ที่มาและความสำคัญ
             อนามัยแม่และเด็กเป็นเรื่องใกล้ตัว สำหรับแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอด และสำหรับลูกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปี เราจึงทำการศึกษาวิธีการเลี้ยงดูลูกของแม่ จากที่ต่างๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจสำหรับแม่
วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องอนามัยแม่และเด็กให้สำหรับแม่ 
2.เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก
สมมุติฐาน
             สามารถเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องอนามัยแม่และเด็กให้สำหรับแม่
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินงาน
ตารางปฏิบัติโครงงาน  15 กันยายน – 8 ตุลาคม 2553

วันที่ปฏิบัติกิจกรรม
กิจกรรมที่ปฏิบัติ
สถานที่ปฏิบัติกิจกรรม
15 กันยายน 2553
เลือกหัวข้อการทำโครงงาน และนำเสนอครูที่ปรึกษา เก็บค่าโครงงาน คนละ 10 บาท
โรงเรียนอำนาจเจริญ
16 กันยายน – 7 ตุลาคม 2553
หาข้อมูลการทำโครงงาน แบ่งหน้าที่ และเขียนรายงานจัดทำรูปเล่ม
โรงเรียนอำนาจเจริญ
8 ตุลาคม 2553
นำเสนอโครงงาน
โรงเรียนอำนาจเจริญ


ผลการดำเนินโครงงาน
นมแม่ คือ หยดแรกของสายใยรักแห่งครอบครัว
ประโยชน์นมแม่:
1. ลูกที่ได้กินนมแม่ มีสติปัญญาดีมากกว่าลูกที่ไม่ได้กินนมแม่ 2-7เท่า
 2. เป็นวัคซีนสำเร็จรูปที่ได้จากแม่ ลดการปวดท้องจากท้องเสีย ปอดบวม เยื้อหุ้มสมองอักเสบ โรคภูมิแพ้ เบาหวาน
 ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ทำให้ลูกไม่ป่วยบ่อยดีกว่าเด็กที่กินนมผง 2-7 เท่า 
3. เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารก มีไขมันที่ช่วยพัฒนาเซลล์สมอง-การพูดคุยกับลูกขณะให้นมแม่ช่วยกระตุ้นประสาททั้ง 5
 ซึ่งจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการ และความมั่นคงทางอารมณ์ของลูก
 4. ประหยัดเงินครอบครัวเฉลี่ยเดือนละ 2,500 บาทต่อเด็ก 1 คน                                                                                                           
วิธีเลี้ยงลูกให้เก่ง ดี มีความสุข

อายุลูก
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ
ระยะตั้งครรภ์
1. ผ่อนคลาย ทำใจให้สบาย
2. พ่อดูแลเอาใจใส่ ช่วยเหลือแม่อย่างใกล้ชิด
1. เครียด หงุดหงิด ใช้อารมณ์
2. ตามใจตนเอง ไม่คำนึงถึงลูก
ในครรภ์
แรกเกิด – 1 ปี
1. อุ้มลูกอย่างนุ่มนวลโอบกอดแนบอก และลูบหลังเบาๆให้ลูกรู้สึกปลอดภัย
2. ขณะอุ้มลูกควรพูดคุย ร้องเพลงกล่อมแห่เมื่อให้นอน
3. เล่น พูดคุยกับลูกบ่อยๆ ทำให้ลูกอารมณ์ดี และเติบโตเร็ว
4. ถ้าลูกอยากทำเอง ควรปล่อยให้ลูกทำเอง ลองผิด ลองถูก
1. ละเลยไม่ดูแล ทอดทิ้ง ใช้อารมณ์รุนแรงกับลูก
2. หงุดหงิดเมื่อลูกร้อง ถ้าทนไม่ได้ ควรผ่อนคลายด้วยการฝากคนอื่นเลี้ยงดูแล้วสงบอารมณ์   สักระยะ
3. ปกป้องตามใจลูกเกินไป ทำให้ลูกขาดวุฒิภาวะเอาแต่ใจ ขาดความอดทน




อายุลูก
สิ่งที่พ่อแม่ควรทำ
สิ่งที่พ่อแม่ไม่ควรทำ
1-3 ปี
1. เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจวัตรประจำวัน ด้วยตนเองมากขึ้น
2. ถ้าลูกแสดงเกินกว่าเหตุ ควรดึงความสนใจไปที่สิ่งอื่น
3. พูดคุย เล่านิทาน ตอบคำถามลูก
4. เมื่อลูกปฏิเสธ ควรอธิบายเหตุผล
5. สอนลูกเก็บของเล่นให้เป็นที่
1.ไม่ยอมให้ลูกทำอะไรด้วยตนเอง
2. หลอกหรือขู่ให้กลัว จะทำให้ลูกกลัวผิดๆโดยไม่มีเหตุผล
3. หงุดหงิดเมื่อลูกซักถามหรือซุกซน
4. ยั่วให้ลูกโกรธ
5. บังคับให้ลูกอยู่เฉยๆนิ่งๆ

3-6 ปี
1. สอนลูกให้รู้ผิด รู้ถูก กล้าบอก เมื่อทำผิด
2. สอนให้รู้จัก ขอบคุณ ขอโทษ ไม่เป็นไรให้ติดปาก
3. สนับสนุนให้เล่นกับเด็กคนอื่น
1. เปรียบเทียบลูกกับพี่น้องคนอื่น เพราะลูกจะน้อยใจและ           มองตนเองไร้ค่า
2. เด็กทะเลาะกัน ไม่ตัดสินใจว่าใครผิด เพราะเด็กทะเลาะกัน     ไม่นาน
3. สอนลูกแต่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูก
4. ทะเลาะกันใช้กำลังต่อหน้าลูก


สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
การศึกษาอนามัยแม่และเด็ก เป็นการสร้างความรู้ให้แม่ดูแลสุขภาพตนเองและลูกขณะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด
อ้างอิงและเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
               สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 5. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2553.